วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ กำลังพญาเสือโคร่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Betula alnoides   Buch.-Ham.ex G.Don
ชื่อสามัญ :   Birch
วงศ์ :   Betulaceae
ชื่ออื่น  กำลังเสือโคร่ง(เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐ -๓๕ เมตร วัดรอบลำต้นประมาณ ๑-๒ เมตร เปลือกไม้(ที่ยังไม่ลอก) มีสีน้ำตาล เทา หรือ เกือบดำ มีรูระบายอากาศเป็นจัดขาวเล็กๆ กลม บ้างรีบางปะปนอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ แคบ ยาวประมาณ ๓-๘ มม.ใบ เป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก หรือรูปหอก เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษ หรือ หนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม เส้นแขนงใบ ๗-๑๐ คู่  ดอก ออกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ออกตามง่ามใบแห่งละ ๒-๕ ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว ๕-๘ ซม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ปลายค่อนข้างแหลม มีขนที่ขอบเกสรเพศผู้ ๔-๗ อันติดอยู่ที่แกนกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว ๓-๙ ซม. กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี ๓ หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่ หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ผลแก่ร่วงง่าย แบน มีปีก ๒ ข้างปีกบางและโปร่งแสง
แหล่งที่พบ มักขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การออกดอก
ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
ส่วนที่ใช้ :
 เปลือกต้นไม้

แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยารักษาเบาหวาน กระแตไต่ไม้

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Drynaria quercifolia  (L.J.Sm.
วงศ์ :   POLYPODIACEAE
ชื่ออื่น  กระแตไต่ไม้ (ภาคกลาง), กระปรอก (จันทบุรี), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี), กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี), ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์), หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-4 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. หรือมากกว่า มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดแคบ กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. ปลายเรียวยาว รากสั้นๆ มีรากขนอ่อนสีน้ำตาล ใบเดี่ยว มีรูปร่างและหน้าที่ต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์เป็นรูปไข่ กว้าง 10-25 ซม. ยาว 15-35 ซม. ปลายแหลม โคนมน ขอบหยักเว้ามนตื้นๆ เข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน ปลายมน ไม่มีก้านใบ ใบชนิดนี้จะมีสีเขียวอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งแต่ยังคงติดอยู่กับต้น ดังนั้นจะเห็นซ้อนกันหลายใบ เป็นที่สะสมของใบไม้แห้งที่ตกลงมา ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยให้ต้น ใบสร้างอับสปอร์กว้าง 20-35 ซม. ยาว 0.6-1 ม. รูปคล้ายใบประกอบแบบขนนก ขอบหยักเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน แต่ละหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ใบชนิดนี้มีสีเขียวตลอดอายุ เมื่อใบแก่แผ่นใบจะร่วงไป คงเหลือส่วนก้านใบและเส้นกลางใบติดอยู่กับต้น เส้นใบเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปไข่ เรียงตัวค่อนข้างมีระเบียบ 2 ข้างของเส้นใบที่แบ่งกลางแต่ละแฉก
ส่วนที่ใช้  
ส่วนหัว

แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยาขับประจำเดือน กระบือเจ็ดตัว

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Excoecaria cochinchinensis  Lour. var.cochinchinensis
วงศ์ :  EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น :  กำลังกระบือ, ลิ้นกระบือ (ภาคกลาง)  ใบท้องแดง (จันทบุรี)
ส่วนที่ใช้ 
 ใบ ยางจากต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 1.5 ม. มียางขาว ใบเดี่ยว มีทั้งเรียงตรงข้ามและเรียงสลับ รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 4-12 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีม่วงแดงหรือม่วงน้ำตาล เส้นแขนงใบข้างละ 7-12 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม. ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกตามง่ามใบ ข้างใบ หรือปลายยอด ยาว 1-2 ซม. ช่อดอกเพศผู้มีดอกเล็กๆ จำนวนมาก โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยง 3 กลีบ เล็กมาก เกสรเพศผู้เล็กมาก มี 3 อัน ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่าช่อดอกเพศผู้และมีดอกเล็กๆ 3-6 ดอก ก้านดอกยาว 2-5 มม. โคนก้านดอกมีใบประดับเล็กๆ และมีต่อมเล็กๆ สีเหลือง กลีบเลี้ยงเล็ก มี 3 กลีบ รูปไข่ รังไข่เล็ก สีเขียวอมชมพู มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน ผลเล็ก ค่อนข้างกลม มี 3 พู
สรรพคุณ :
  • บ  -   ขับน้ำคาวปลาหลังคลอด เป็นยาขับเลือดเน่าสำหรับสตรีในเรือนไฟ
  • ยางจากต้น - เป็นพิษ ใช้เบื่อปลา
วิธีใช้  นำใบมาตำกับสุรา คั้นเอาน้ำรับประทาน

แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มสมุนไพรไล่ยุงหรือฆ่าแมลง ตะไคร้หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cymbopogon nardus Rendle
ชื่อสามัญ :   Citronella grass
วงศ์ :   GRAMINEAE
ชื่ออื่น  จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น  ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซมยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม  (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า)  ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ :  ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม
สรรพคุณ :
  • น้ำมันสะกัดตะไคร้หอม  
    -  ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด 
    -  ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก
  • ทั้งต้น
    -ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น นำมาทั้งต้น ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด
ประโยชน์ทางยา
  • แก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก)
  • ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่นได้ด้วย
  • สตรีมีครรภ์รับประทานให้ตกลูกหรือทำลายโลหิตให้ด้วย (ทำให้แท้ง) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้ดีด้วย
วิธีใช้ นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง

แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยารักษาหูด กะเพรา

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ocimum sanctum  L.
ชื่อสามัญ :   Holy basil,  Sacred Basil
วงศ์ :    Lamiaceae (Labiatae)
ชื่ออื่น  กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่
ส่วนที่ใช้  
ใบสด
สรรพคุณ :
          
ใช้ใบสดของกะเพรา ถ้าเป็นกะเพราแดงจะมีฤทธิ์แรงยิ่งขึ้น ขยี้ทาต
รงหัวหูด เช้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด

แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยารักษาน้ำกัดเท้า เทียนบ้าน


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Impatiens balsamina  L.
ชื่อสามัญ :   Garden Balsam
วงศ์ :   BALSAMINACEAE
ชื่ออื่น  เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 30-80 ซม. ลำต้นอวบน้ำและค่อนข้างโปร่งแสง ออกดอกออกผลแล้วต้นจะตาย ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น รูปวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกมีสีชมพู แดง ม่วง ขาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จัดจะแตกออก เปลือกผลม้วนขมวดขึ้น และดีดเมล็ดที่ค่อนข้างกลมสีน้ำตาลออกมา เพื่อช่วยกระจายพันธุ์ 
ส่วนที่ใช้ :  
ใบสด ดอกสด ใบแห้ง
                 เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่หมอจีนใช้ใบของเทียนดอกขาว

 
สรรพคุณ :
  • บสด - ตำพอกเล็บขบและปวด ตามนิ้วมือ นิ้วเท้า 
    - ถอนพิษ ปวดแสบ ปวดร้อน
  • ใบแห้ง - แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย แผลเรื้อรัง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : รายละเอียด ดูจากลิงค์ด้านล่าง (กลุ่มพืชถอนพิษ
)

แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยารักษา เหา หิด จี๊ด กระทกรก

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Passiflora foetida L.
ชื่อสามัญ :   Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower
วงศ์ :   Passifloraceae
ชื่ออื่น  รก กระโปรงทอง ละพุบาบี หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5 –6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วย “รก” ผลสุกมีสีเหลือง

ส่วนที่ใช้ :
สรรพคุณ :
  • บ  -  
  • ดอก -
  • เปลือก  - 
  • กระพี้ - 
  • แก่น - 
  • ราก - 

    แหล่งอ้างอิง www.google.com
  

กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน กระเบาน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Hydnocarpus  anthelminthicus  Pieere ex Laness.
วงศ์ :   Flacourtiaceae
ชื่ออื่น กระเบา (ทั่วไป) ตึก (เขมร-ภาคตะวันออก) กระเบาเบ้าแข็ง กระเบาใหญ่, กาหลง (ภาคกลาง) ตัวโฮ่งจี๊ (จีน)  เบา (สุรษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 ม. ลำต้นเปลา ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายสอบเรียว โคนสอบหรือมน เบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ เส้นแขนงใบ และเส้นใบย่อยเห็นได้ชัดทางด้านล่าง ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ กลิ่นหอมมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนอ่อนนุ่มทั้ง 2 ด้าน กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกเพศผู้ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 5 อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก รังไข่รูปไข่หรือรูปไข่กลับ มีขนสั้นๆ ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 ซม. ผิวเรียบ เปลือกแข็ง มีขนหรือเกล็ดสีน้ำตาล มี 30-50 เมล็ด อัดกันแน่น เมล็ดรูปไข่ เบี้ยว ปลายทั้ง 2 ข้างมน
ส่วนที่ใช้ :  
ผลแก่สุก เมล็ด น้ำมันในเมล็ด (Chaumoogra Oil)
สรรพคุณ :
  • ผลแก่สุก  - ใช้รับประทานเนื้อในเป็นอาหารคล้ายเผือกต้ม
  • น้ำมันในเมล็ด 
    - ใช้ดัดแปลงทางเคมีเป็นยารับประทานหรือยาฉีดหรือยาทาภายนอก บำบัดโรงเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด และโรคผิวหนัง ผื่นคันที่มีตัวทุกชนิด เพราะมีรสเมา สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี
    - ใช้ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผมรักษาโรคบนศีรษะได้ด้วย
วิธีและปริมาณที่ใช้ - ใช้เมล็ดแก่เต็มที่ 10 เมล็ด แกะเอาเปลือกออก ตำให้ละเอียด เติมน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันพืชพอเข้าเนื้อ ใช้ทาโรคผิวหนังได้แทบทุกชนิด
ข้อมูลเพิ่มเติม :  น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดเรียกว่า น้ำมันกระเบา (Chaulmoogra oil หรือ Hydnocarpus oil) มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น chaulmoogric acid และ hydnocarpic acid น้ำมันกระเบานำมาใช้รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังอย่างอื่นอีก เช่น โรคเรื้อนกวาง หิด นอกจากนี้ ยังใช้แก้อาการปวดบวมตามข้อ
เนื้อผลกินได้

แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มพืชถอนพิษ เทียนบ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Impatiens balsamina  L.
ชื่อสามัญ :   Garden Balsam
วงศ์ :   BALSAMINACEAE
ชื่ออื่น  เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 30-80 ซม. ลำต้นอวบน้ำและค่อนข้างโปร่งแสง ออกดอกออกผลแล้วต้นจะตาย ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น รูปวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกมีสีชมพู แดง ม่วง ขาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จัดจะแตกออก เปลือกผลม้วนขมวดขึ้น และดีดเมล็ดที่ค่อนข้างกลมสีน้ำตาลออกมา เพื่อช่วยกระจายพันธุ์
ส่วนที่ใช้ :  ใบทั้งสดและแห้ง ยอดสด ต้นและรากสด เมล็ดแห้ง 
สรรพคุณ :
  • ใบสด แก้ปวดข้อ ยารักษากลากเกลื้อน แก้ฝีและแผลพุพอง ยากันเล็บถอด
  • ใบแห้ง แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย รักษาแผลเรื้อรัง
  • ยอดสด แก้จมูกอักเสบ บวมแดง
  • ต้นสด แก้แผลงูสวัด
  • รากสด แก้บวมน้ำ ตำพอกแผลที่ถูกเสี้ยนหรือแก้วตำ
  • เมล็ดแห้ง แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน
ขนาดและวิธีใช้
          -แก้ปวดข้อ ใช้ใบสดต้มกับน้ำผสมเหล้าดื่ม
          - ยารักษากลากเกลื้อน ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ตำทั้งน้ำและเนื้อบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
          - แก้ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบสด 5-10 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกที่เป็นแผล วันละ 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
          - ยากันเล็บถอด ใช้ใบ ยอดสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำตาลทรายแดง 1/2 ช้อนชา พอกตรงเล็บ เปลี่ยนยาเช้า-เย็น
          - แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย  ใช้ใบแห้ง 10- 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม เช้า-เย็น
          - รักษาแผลเรื้อรัง ใช้ใบแห้งบดเป็นผงผสมพิมเสนใส่แผล
          - แก้จมูกอักเสบ บวมแดง ใช้ยอดสดตำกับน้ำตาลแดง พอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนเช้า-เย็น
          - แก้แผลงูสวัด ใช้ต้นสดตำ คั้นเอาน้ำดื่ม เอากากพอกแผล
          - แก้บวมน้ำ ใช้รากสด 4-5 ราก ต้มกับเนื้อรับประทาน 3-4 ครั้ง
          - แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน ใช้เมล็ดแห้งของต้นเทียนบ้านชนิดดอกสีขาว 60 กรัม บดเป็นผงรวมกับตังกุย 10 กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาเม็ด รับประทานครั้งละ 3 กรัม วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

แหล่งอ้างอิง www.google.com
  

กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz
ชื่อพ้อง : R. communis  Nees
ชื่อสามัญ :    White crane flower
วงศ์ :   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ส่วนโคนต้นเนื้อไม้เป็นแกนแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผล เป็นฝักเล็ก พอแห้งแตกออกได้
ส่วนที่ใช้ : 
ราก  ทั้งต้น  ต้น  ใบ
สรรพคุณ :
  • ราก - แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง
  • ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
  • ต้น - บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ รักษาโรคผมร่วง
  • ใบ - ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบ แก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง
    นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคต่อไปนี้คือ
  • ราก - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด กระเพาะลำไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทำให้ผมดกดำ แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้กระษัย แก้ผมหงอก ผมร่วง รักษาโรคตับพิการ รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อทำให้ปวดบวมต่างๆ ขับปัสสาวะ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค
  • ทั้งต้น  - รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด แก้เม็ดผื่นคัน
  • ต้น - รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตามร่างกาย มะเร็งลำไส้ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง
  • ใบ - แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน แก้มะเร็งไช แก้หิดมะตอย รักษาโรคมะเร็ง รักษาวัณโรค แก้ใจระส่ำระสาย แก้คลุ้มคลั่ง แก้สารพัดพิษ
    นอกจากนี้ในตำราบางเล่ม ยังได้กล่าวถึงสรรพคุณทองพันชั่ง โดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใดของพืช หรือส่วนใดในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
    - รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคมะเร็ง แก้มุตกิตระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ผมร่วง รักษาโรคนิ่ว
    - แก้เคล็ดขัดยอกชายโครง มือเคล็ด คอเคล็ด แก้มะเร็งในกระเพาะ แก้ฝีประคำร้อย แก้มะเร็งในคอ แก้มะเร็งในปาก แก้ไข้เหนือ แก้จุกเสียด เป็นยาหยอดตา แก้ไอเป็นเลือด แก้ช้ำใน แก้นิ่ว แก้โรคผิวหนัง แก้ลมสาร แก้มะเร็งในปอด แก้มะเร็งภายในและภายนอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ใช้รับประทานเป็นยาภายใน รักษาโรคมะเร็ง และวัณโรคระยะเริ่มแรก
    1. ใช้ทั้งต้น สด จำนวน 30 กรัม ต้มกับน้ำ จำนวนท่วมใบยา ต้มดื่มต่างน้ำ
    2. ใช้ก้านและใบสด 30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) ผสมน้ำตาลกรวดต้มน้ำดื่ม รักษาโรคปอดระยะเริ่มแรก
  • ใช้เป็นยาภายนอก แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อนและผื่นคันอื่นๆ
    1. ใช้ใบสด 5-8 ใบ หรือ รากสด 2-3 ราก
    ใบสดตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน หรือเอารากมาป่น แช่เหล้าไว้ 1 สัปดาห์ กรองเอาน้ำยาที่แช่มาทา ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
    2. ใช้ใบสดตำผสมน้ำมันดิบ หรือ แอลกอฮอล์ 75% ทาบริเวณที่
    เป็น

    แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยาแก้ปวดฟัน กานพลู

ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
ชื่อพ้อง :  Caryophyllus aromatica  L. ; Eugenia aromatica  (L.) Baill; E.Caryophylla(Spreng.) Bullock et Harrison;  E.caryophyllata Thunb.
ชื่อสามัญ :   Clove Tree
วงศ์ :   Myrtaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด
          กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร

ส่วนที่ใช้ :  เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลุ
สรรพคุณ :
  • เปลือกต้น  -  แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ 
  • ใบ -  แก้ปวดมวน
  • ดอกตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น
    ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน
  • ผล -  ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
  • น้ำมันหอมระเหยกานพลู - ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง
    ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัม
    ในผู้ใหญ่  - ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
    ในเด็ก -  ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนม
    เด็กอ่อน - ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้
  • ยาแก้ปวดฟัน
    ใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้
    หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด
  • ระงับกลิ่นปาก
    ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้
    บ้าง

    แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง กาหลง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Bauhinia acuminata  L.
วงศ์ :   Leguminosae - Caesalpinioideae
ชื่ออื่น  กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส); กาหลง (ภาคกลาง); โยธิกา (นครศรีธรรมราช); ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง); เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนทั่วไป กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม กว้าง 9-13 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้ปลายแฉกทั้ง 2 ข้างแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ เส้นใบออกจากโคนใบ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กละเอียด ก้านใบยาว 3-4 ซม. มีขนหูใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 1 ซม. ร่วงง่าย มีแท่งรยางค์เล็กๆ อยู่ระหว่างหูใบ ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3-10 ดอก ก้านดอกยาว 0.5-1.5 ซม. โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 2-3 ใบ รูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5-4 ซม. ดอกบาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบกว้าง 1-1.8 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. ปลายเรียวแหลมและแยกเป็นพู่เส้นสั้นๆ 5 เส้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปรีหรือรูปไข่กลับ มักมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายมน โคนสอบ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูแต่ละอันยาวไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 1.5-2.5 ซม. อับเรณูสีเหลือง รูปขอบขนาน ยาว 3-5 มม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. รับไข่รูปขอบขนาน ยาว 6-8 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-2 ซม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลม ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 9-15 ซม. ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ยาวประมาณ 8 มม. ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5-10 เมล็ด เมล็ดเล็ก คล้ายรูปขอบขนาน 
ส่วนที่ใช้ 
 ดอก
สรรพคุณ :
  • ดอก - รับประทาน แก้ปวดศีรษะ
    - ลดความดันของโลหิตที่ขึ้นสูง
    - แก้เลือดออกตามไรฟัน
    - แก้เสมหะพิการ

    แหล่งอ้างอิง www.google.com
  

กลุ่มยากัน หรือ แก้เลือดออกตามไรฟัน มะกอก


ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Spondias cytherea  Sonn.
ชื่อสามัญ :  Jew's plum, Otatheite apple
วงศ์ :  Anacardiaceae
ชื่ออื่น  มะกอกฝรั่ง มะกอกหวาน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพส ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด 
ส่วนที่ใช้ :  
ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด
สรรพคุณ :
  • เนื้อผลมะกอก มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ โดยน้ำดีไม่ปกติ และมีประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย
  • น้ำคั้นใบมะกอก ใช้หยอดหู แก้ปวดหูดี
  • ผลมะกอกสุก รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี เช่น ผลมะขามป้อม
  • เปลือก ฝาด เย็นเปรี้ยว ดับพิษกาฬ แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
  • เมล็ดมะกอก - สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใช้ผสมยามหานิล
  • ใบอ่อน รับประทานเป็นอาหาร
วิธีใช้ ใช้ผลรับประทานเป็นผลไม้ และปรุงอาหาร

แหล่งอ้างอิง www.google.com
  

กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ กัญชา

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cannabis sativa  L.
ชื่อสามัญ :   Indian Hemp
วงศ์ :   Canabaceae
ชื่ออื่น  กัญชาจีน (ทั่วไป), คุนเช้า (จีน), ปาง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ยานอ (กะเหรี่ยง -แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 0.9-1.5 ซม. ไม่ค่อยแตกสาขา ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ เรียงสลับ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น 5-7 แฉก โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด ช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จัดเรียงตัวกันห่างๆ ต่างจากต้นเพศเมียที่เรียงชิดกัน ดอกเล็ก ผลแห้งเมล็ดล่อน เล็ก เรียบ สีน้ำตาล
ส่วนที่ใช้  เมล็ดแห้ง ดอก
สรรพคุณ 
          เป็นยากล่อมประสาท (
Tranquilizer) หมายถึงยาที่ช่วยทำให้จิตใจสบาย ไม่หงุดหงิด ระงับอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน เมื่อจิตใจสงบ ทำให้นอนหลับสบาย
วิธีและปริมาณที่ใช้ 
:  
          เอาเมล็ดมาทำให้แห้ง บดให้ละเอียด ชงน้ำรับประทาน ครั้งละ 3 กรัม รับประทานก่อนนอน

แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยาขับปัสสาวะ กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Hibiscus sabdariffa  L.
ชื่อสามัญ :   Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ :   Malvaceae
ชื่ออื่น  กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว สูง 1-2 เมตร เปลือกต้นเรียบ ลำต้นและกิ่งสีม่วงแดง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบหยักเว้าลึก 3-5 แฉก แต่ละแฉกกว้าง 0.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ก้านใบยาว 4-15 ซม. ดอก ออกเดี่ยวตามซอกใบ มีริ้วประดับสีแดง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก สีแดงเข้ม อวบน้ำ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง ตรงกลางดอกสีม่วงแดง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผล รูปไข่ สีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง ติดทนขนาดใหญ่รองรับอยู่จนผลแก่ ผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :
 กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล ใบ ดอก ผล เมล็ด
สรรพคุณ :
  • กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล 1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
    2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแรงแต่อย่างใด
    3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
    4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งแรงได้ดี
    5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
    6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
    7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
    8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่
  • ใบ - มีรสเปรี้ยว แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ดอก -  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ผล - ลดไขมันในเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
  • เมล็ด -  รสเมา บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
    นอกจากนี้ ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในสำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้วยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด

    แหล่งอ้างอิง www.google.com
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี 
สารเคมีที่สำคัญใน ดอก พบ Protocatechuic acid. hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
          น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

กลุ่มยาถ่าย กาฬพฤกษ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cassia grandis  L.f.
ชื่อสามัญ :    Pink Shower , Horse cassia
วงศ์ :   LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำ แตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 10-20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขน ดอก เริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามลำดับ ระยะออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม ผล เป็นฝัก ฝักแก่แห้งไม่แตก ค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอก โคนและปลายสอบ เปลือกหนาแข็ง ขรุขระ ที่ขอบฝักเป็นสันตามแนวยาวทั้ง 2 ข้าง ขนาดกว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 1.3-1.8 ซม. เมล็ดอ่อนสีครีม เมล็ดแก่สีน้ำตาล มีจำนวน 20-40 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เนื้อในฝัก  เปลือก เมล็ด
สรรพคุณ :
  • เนื้อในฝัก  -  ปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ
    ขนาดรับประทาน - รับประทานได้ถึงครั้งละ 8 กรัม ไม่ปวดมวนและไม่ไซ้ท้องเลย แต่ความแรงสู้คูนไม่ได้  
  • เปลือก และ เมล็ด  - รับประทานทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายพิษไข้ได้
    ดี

    แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มสมุนไพรไล่ยุงหรือฆ่าแมลง ตะไคร้หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cymbopogon nardus Rendle
ชื่อสามัญ :   Citronella grass
วงศ์ :   GRAMINEAE
ชื่ออื่น  จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น  ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซมยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม  (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า)  ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ :  ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม
สรรพคุณ :
  • น้ำมันสะกัดตะไคร้หอม  
    -  ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด 
    -  ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก
  • ทั้งต้น
    -ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น นำมาทั้งต้น ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด
ประโยชน์ทางยา
  • แก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก)
  • ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่นได้ด้วย
  • สตรีมีครรภ์รับประทานให้ตกลูกหรือทำลายโลหิตให้ด้วย (ทำให้แท้ง) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้ดีด้วย
วิธีใช้ นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง

แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.
ชื่อสามัญ Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ :  Malvaceae
ชื่ออื่น กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
  • กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
  1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
  2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
  3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
  4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
  5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
  6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
  7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
  8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
  • ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
  • เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
          นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
          นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไปสารเคมี
          ดอก  
พบ 
Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
          น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
          น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร 
Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

แหล่งอ้างอิง www.google.com
  

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ กระดังงาไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cananga odorata  Hook.f. & Thomson var. odorata
ชื่อสามัญ :   Ylang-ylang Tree
วงศ์ :   ANNONACEAE
ชื่ออื่น  กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน
สรรพคุณ :
  • ดอกแก่จัด  -  ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
  • ใบ, เนื้อไม้  -  ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ :
  1. ใช้ดอกกลั่น  ได้น้ำมันหอมระเหย
  2. การแต่งกลิ่นอาหาร  ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ

    แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยาขับน้ำนม กุ๋ยช่าย

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Allium tuberosum  Rottl. ex Spreng
ชื่อสามัญ :   Chinese Chives, Leek
วงศ์ :   Liliaceae (Alliaceae)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ยาว 40-45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ 5 มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ 4 มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล แบน ขรุขระ
ส่วนที่ใช้ :  
เมล็ด ต้น และใบสด
สรรพคุณ :
  • เมล็ด - เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้- รับประทานขับพยาธิเส้นด้ายหรือแซ่ม้า
    - รับประทานกับสุราเป็นยาขับโลหิตประจำเดือนที่เป็นลิ่มเป็นก้อนได้ดี
      
  • ต้นและใบสด
    - เป็นยาเพิ่ม และขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด
    - ใช้รับปะทานเป็นอาหาร
    -
     ใช้ฆ่าเชื้อ (Antiseptic)แก้โรคนิ่ว และหนองในได้ดี
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • เมล็ด
    - เผาไฟเอาควันรมเข้าในรูหู เป็นยาฆ่าสัตว์ต่างๆ ให้ตายได้
    - บางจังหวัดใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันยางชุบสำลีอุดฟันที่เป็นรูทิ้งไว้ 1-2 วัน เป็นยาฆ่าแมลงที่กินอยู่ในรูฟันให้ตายได้
  • ต้นและใบสด- ใช้จำนวนไม่จำกัดแกงเลียงรับประทานบ่อย ขับน้ำนมหลังคลอด
    - ใช้ต้นและใบสด ตำให้ละเอียดผสมกับสุราใส่สารส้มเล็กน้อย กรองเอาน้ำรับประทาน 1 ถ้วยขา แก้โรคนิ่ว และหนองใน
    แหล่งอ้างอิง  www.google.com

วิธีลดความอ้วน

     อยากลดหุ่นให้เข้าที่หรือ? ง่าย ๆ เลยค่ะ ลองเลือกทำตามวิธีลดความอ้วน ที่กระปุกดอทคอมนำฝากในวันนี้ ดูสิว่า วิธีไหนเหมาะสมกับคุณบ้าง หรือจะเลือกใช้ทุกวิธี เอาให้ผอมทันใจก็ย่อมได้ รับรองว่าดีต่อสุขภาพค่ะ

 1.รับประทานผัก-ผลไม้มาก ๆ
อย่าละเลยการรับประทานผัก-ผลไม้เด็ดขาดค่ะ เพราะผักผลไม้มีเส้นใย และสาทั้งรอาหารต่าง ๆ ที่ดีกับคุณสาว ๆ แถมทานมากเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนด้วย

 2. หลีกเลี่ยงการทานอาหารทอด ๆ และติดมัน

          อาหารทอด ๆ มาพร้อมกับน้ำมันที่จะมาทำให้คุณอวบอั๋นขึ้นอ
          ย่างไม่ต้องสงสัย เช่นเดียวกับอาหารเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น กุนเชียง หมูสามชั้นทอดกรอบ หนังไก่ กากหมู ถ้าไม่อยากอ้วน อดใจไว้ค่ะ

 3.ทานดาร์กช็อกโกแลต

          ใช่ค่ะ คุณหูไม่ฝาด เรากำลังแนะนำให้คุณทานช็อกโกแลต แต่ไม่ใช่ว่าช็อกโกแลตทั่ว ๆ ไปก็ทานได้หรอกนะคะ ต้องเป็นดาร์ก ช็อกโกแลตเท่านั้น ถึงจะมีสารแอนตี้ออกซิเดนท์ และเป็นประโยชน์กับร่างกายของคุณสาว ๆ

 4. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

          แทบจะทุกบทความ ที่แนะนำให้คุณดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว เพราะน้ำจะช่วยเร่งระบบการเผาผลาญ จึงช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินให้คุณด้วย ซ้ำยังช่วยให้คุณอิ่มเร็วขึ้นด้วย หากคุณดื่มน้ำ 1 แก้ว ก่อนทานอาหารทุกครั้ง แต่อย่าชะแว้บ! ไปมอง "น้ำอัดลม" หรือ "น้ำผลไม้" เชียว ยกเว้น "น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง" ที่เราแนะนำให้คุณดื่มได้

 5.ดื่มน้ำอย่างน้อย 1 แก้วหลังตื่นนอน

          จำ และทำให้เป็นนิสัย เพราะการดื่มน้ำอย่างน้อย 1 แก้ว ทันทีหลังจากที่คุณเพิ่งตื่นนอน จะทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังจะช่วยให้ระบบขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทั้งหนักทั้งเบา ทำงานได้อย่างคล่องตัว

 6.ทานอาหารเช้า

          จำได้ไหมว่า อาหารเช้าคืออาหารมื้อสำคัญที่สุดของวัน ถ้าหากคุณสาว ๆ พลาดอาหารเช้าในช่วงเวลา 6.00-10.00 น.ไปล่ะก็ คุณอาจจะรู้สึกหิวในมื้อต่อ ๆ ไปมากขึ้น ทีนี้ล่ะ คุณอาจจะเผลอตัวเผลอใจสวาปามอาหารที่อยู่ตรงหน้าโดยไม่ยั้ง แล้วจะลดน้ำหนักได้อย่างไรล่ะจ๊ะ

 7.กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน

          การไดเอท ไม่ได้สำคัญที่ว่าคุณทานอะไรเข้าไป แต่สำคัญที่ว่า ทำไมคุณถึงทานเข้าไปต่างหาก ฉะนั้นแล้ว หากใครชอบกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เพียงเพื่ออยากทานสิ่งนั้น จงเปลี่ยนพฤติกรรมด่วนค่ะ ทานให้แต่พออิ่มจะดีกว่า และควรทานเมื่อเวลาที่หิวจริง ๆ 
แหล่งอ้างอิง www.google.com

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cananga odorata  Hook.f. & Thomson var. odorata
ชื่อสามัญ  Ylang-ylang Tree
วงศ์  ANNONACEAE
ชื่ออื่น :  กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน
สรรพคุณ :
  • ดอกแก่จัด  -  ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
  • ใบ, เนื้อไม้  -  ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ :
  1. ใช้ดอกกลั่น  ได้น้ำมันหอมระเหย
  2. การแต่งกลิ่นอาหาร  ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ  แหล่งอ้างอิง www.google.com

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
  • กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
  1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
  2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
  3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
  4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
  5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
  6. ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
  7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
  8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
  • ใบ  แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ดอก  แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
  • ผล  ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
  • เมล็ด  บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
          นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
          นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
         
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
          ดอก 
พบ
Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
          น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
          น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร
Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตาม
แหล่งอ้างอิง www.google.com